top of page

ชนิดของสายไฟมีอะไรบ้าง

โดยปกติเราจะแบ่งชนิดของสายไฟเบื้องต้นตามย่านการใช้งานของแรงดันไฟฟ้า คือ

1. ย่านแรงดันต่ำ หรือ (Low Voltage Cables)

2. ย่านแรงดันปานกลาง-สูง (Medium+High Voltage Cables)

1. สายไฟย่านแรงดันต่ำ (Low Voltage Cables)

จะแบ่งออกเป็นหลายชนิด และหลายประเภทมากตามการใช้งานดังนี้

สายไฟ THW, สายไฟ NYY ,สายไฟ CV,สายไฟ VCT,สายไฟ VAF,สายทนไฟ FRC,สายไฟ THW-A

ซึ่งสายเหล่านี้จะมีทั้งที่เป็นแกนเดี่ยว (Single Core Cable) และ สายไฟที่มีหลายแกน (Multi-core cables)

รวมถึงชนิดของตัวนำเอง ก็จะมีที่เป็นทั้งทองแดง และอลูมิเนียม ขึ้นกับประเภทการใช้งานอีกด้วย

ซึ่งสายไฟทองแดงเอง จะมีค่าการนำไฟฟ้าที่สูงกว่า อลูมิเนียมอยู่พอสมควร ทำให้เราสามารถใช้สายไฟทองแดง ที่ขนาดพื้นที่หน้าตัดเล็กกว่าสายไฟที่ทำจากอลูมิเนียมพอสมควร แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาทองแดงที่แพงกว่าอลูมิเนียม รวมถึงประเด็นสำคัญคือ เรื่องของน้ำหนักของสายไฟ อลูมิเนียมถึงแม้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า นำกระแสได้น้อยกว่า แต่ก็มีน้ำหนักที่เบากว่าสายไฟที่ทำจากทองแดงมาก

จึงนิยมนำมาทำสายไฟเคเบิลอากาศ (SAC) เพื่อเดินลอยในอากาศ เพราะน้ำหนัก การลากสายไฟทำได้ง่ายกว่า ราคาถูกกว่า รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการขโมยสายไฟก็น้อยกว่า เนื่องจากราคาอลูมิเนียมที่ถูกกว่ามาก สายไฟที่ทำจากทองแดงจึงนิยมนำมาทำเป็นสายไฟภายในบ้าน อาคาร เพราะใช้ขนาดเล็กมาก ทำให้การทำงานสะดวกกว่าสายไฟขนาดใหญ่ รวมถึงการนำไฟฟ้าและค่าของกระแสก็ดีกว่ามาก จึงนิยมนำมาผลิตเบอร์ 1.5,2.5,4,6,10 SQ.MM. เพื่อใช้สำหรับอาคารบ้านเรือนก็เพียงพอต่อปริมาณกระแสแล้ว แต่ก็มีสายไฟที่ทำจากทองแดงที่นำมาผลิตเป็นเบอร์ขนาดใหญ่เช่นกัน คือสายไฟในย่านแรงดันสูง หรือสายไฟพิเศษสำหรับงานที่ต้องนำกระแสสูงๆก็มีเช่นกัน

2.สายไฟย่านแรงดันสูง(Medium+High Voltage Cables)

สายไฟแรงดันปานกลางถึงแรงดันสูง คือสายไฟที่มีค่าแรงดันตั้งแต่ 1KV ขึ้นไป ซึ่งปกติการใช้งานก็จะเป็นเพราะ ต้องใช้ในงานที่มีโหลดอยู่จำนวน หรือต้องเดินสายไฟระยะทางไกลๆ ใช้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่หรือระบบระหว่างหม้อแปลงขนาดใหญ่ก็ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจมีแรงดันสูงถึงหลักหลานแสนกิโลโวลต์ ในต่างประเทศอาจสูงถึงหลักล้านโวลต์ก็เป็นได้ สายชนิดนี้ มีทั้งทองแดงและอลูมิเนียมเหมือนกับสายแรงดันต่ำและมีแบบแกนเดี่ยวหรือหลายแกนเหมือนกัน หลักๆที่เราจะพบได้บ่อย ได้แก่สายไฟ XLPE และ สายไฟ SAC สำหรับเดินอากาศ รวมถึง สายไฟ AAC ที่ใช้ในหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือนครหลวง

รวมถึงสายไฟสำหรับเครื่องจักรพิเศษ หรือโรงงานต่างๆ ในการเดินหม้อแปลง ก็จะใช้สายแรงดันสูงเป็นหลัก

  เนื่องจากการจ่ายแรงดันสูงนั้น ทำให้ค่าการสูญเสียที่ต่ำกว่าที่เราจะไฟฟ้าแรงดันต่ำ ยกตัวอย่าง หากเราใช้ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ จ่ายไฟไประยะทาง 5 กิโลเมตร โดยระหว่างทาง มีหม้อแปลงหรือโหลดอีก 10 จุด ถ้าเราจ่ายไฟฟ้าในระบบแรงดันต่ำ 380/400V ปลายทางสุดท้ายที่สายไฟไปถึง แรงดันอาจจะตกลงเหลือแค่ 200V ก็เป็นได้ แต่หากเราจ่ายไฟที่แรงดันสูง ที่ระยะทางเท่ากันที่ 22,000-23,000 V หากเกิด Loss ในระบบ 500-1000V ปลายทางที่เราจะจ่ายไฟไปให้ถึง ก็ยังได้ไฟ 22KV อยู่ดี นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมเราจะต้องใช้ไฟระบบแรงดันสูง เพื่อจ่ายในระบบที่มีการใช้งานโหลดจำนวนมาก หรือ ระบบที่ต้องจ่ายไฟไปในระยะทาง

ที่ไกลมากๆ

ซึ่งระบบไฟฟ้าแรงสูงเองในบ้านเรา ส่วนมากก็จะแบ่งเป็นระบบ 22KV และ ระบบ 33KV

ซึ่งระบบ 22KV เราจะเห็นทั่วไปคือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ กับ กทม.

ซึ่งภาคใต้กับ กทม. บางเขต ก็จะใช้ระบบไฟฟ้า 33KV เพื่อลดความสูญเสียในการส่งแรงดันนั่นเอง ทำให้ปลายทางกับต้นทาง นั้นสามารถใช้ระบบไฟฟ้าที่แรงดันใกล้เคียงกันได้ โดยที่หม้อแปลงสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ เพราะฉะนั้นสายไฟแรงสูง แต่ละชนิดก็มีจุดประสงค์ หรือลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน

ก็ควรจะเลือกสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

ซึ่งของทางบริษัท เอสบีเค โกลบอล เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (SBK Global Enterprise)

เรามีจำหน่ายสายไฟทั้งในย่านแรงดันต่ำและแรงดันสูง ครอบคลุมแทบทุกชนิด

ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ได้รับมาตรฐานทั้ง มอก. IEC , CE, ISO, BSI Kitemark,UL,ASTM,EN จึงมั่นใจได้ในคุณภาพการผลิต เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ในองค์กรอย่างปลอดภัย

ติดต่อเราได้ที่ 086-828-7951 หรือส่ง enquiry มาที่ อีเมล์ : s1.sbk@hotmail.com

ทางเรายินดีให้คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่ลูกค้าทุกท่าน ทั้งเรื่องสายไฟ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบประหยัดพลังงาน รวมถึงอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดต่างๆ ที่เราเป็นตัวแทนจำหน่าย และเป็นผู้นำเข้าเอง

bottom of page